เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาน์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างไร ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปกติได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขาร
อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเป็น
ผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.
จบทุติยอาชานียสูตรที่ 7
แม้ในทุติยอาชานียสูตรที่ 7 ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือในสูตรนี้
ง่ายทั้งนั้น.
จบอภิญญาวรรควรรณนาที่ 6

8. พลสูตร


ว่าด้วยกำลัง 4 ประการ


[261] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 4 ประการนี้ 4 ประการเป็นไฉน
คือ กำลังคือความเพียร 1 กำลังคือสติ 1 กำลังคือสมาธิ 1 กำลังคือปัญญา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 4 ประการนี้แล.
จบพลสูตรที่ 8

9. อรัญญสูตร


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 4 ไม่ควรอยู่ป่า


[262] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
ไม่ควรเสพเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้มีปัญญาทราม เพราะกามวิตก 1 พยาบาทวิตก 1 วิหิงสาวิตก 1 และเป็น
ผู้โง่เขลาบ้าน้ำลาย 1 ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ไม่ควร
เสพเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ควรเสพ
เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า 4 ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มี
ปัญญา เพราะเนกขัมมวิตก 1 อพยาบาทวิตก 1 อวิหิงสาวิตก 1 และเป็นผู้ไม่
โง่เขลาไม่บ้าน้ำลาย 1 ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ควรเสพ-
เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า.
จบอรัญญสูตรที่ 9

10. กัมมปถสูตร


ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบริหารตน 4


[260] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ
ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้
ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันมีโทษ 1 วจีกรรมอันมีโทษ 1